วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของวัดหลวงพ่อโสธร



ประวัติความเป็นมาของวัดหลวงพ่อโสธร
เมื่อนำพระพุทธรูปที่ลอยน้ำขึ้นมาได้ ชาวบ้านก็อัญเชิญเข้าไปประดิษฐานเอาไว้ในพระอุโบสถทันทีรวมกับพระพุทธรูป
องค์อื่นๆที่มีอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักปิดทองเอาไว้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลักษณะ ของพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง คือศิลปะของเวียงจันทร์ ซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้กันทั่วไปที่ล้านช้างและหลวงพระบางและเมืองอื่นๆที่ภูมิภาคแถบนี้ ดูได้จากพระพุทธรูปลักษณะเดียวกันที่เวียงจันทร์ และหลวงพระบางตลอดจนอินโดจีน รวมทั้งทางภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ชาวบ้านเลยพากันถือ เป็นเรื่องสำคัญมากที่ได้ พระพุทธรูปองค์สำคัญนี้มาพากันมากราบไหว้กันมากมาย
ในครั้งกระโน้นเล่าลือกันไปทุกสารทิศทีเดียวพากันเรียกท่านว่า"หลวงพ่อโสธรตามชื่อวัดที่เปลี่ยนมาจากเสาธงทอนแล้วก็เป็น หลวงพ่อโสธรมาตราบกระทั่ง ปัจจุบัน.
หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแปดริ้วหรือจังหวัดฉะเชิงเทราโดยแท้จริงตลอดมาหลวงพ่อพุทธโสธร
หรือหลวงพ่อโสธรหน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง1.48 เมตร เท่าที่มองเห็นองค์หลวงพ่อโสธรอยู่ในปัจจุบันนี้

   ผู้รู้เล่าว่าองค์จริงของหลวงพ่อพุทธโสธรนั้นเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่องค์เล็กกว่าที่เห็นกันอยู่ แต่เนื่องจาก
หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์งดงามมาก มีผู้เกรงว่าจะเป็นอันตรายอาจจะมีผู้ใจบาปมากระทำมิดีมิร้ายได้
จึงจัดการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขึ้นใหม่แล้วเอาองค์จริงของหลวงพ่อโสธรประดิษฐานไว้ข้างในไม่ให้ใครเห็นจนบัดนี้
 วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมมีชื่อว่า วัดหงส์ มีหลักฐานว่า สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีประวัติ ที่เล่าสืบทอดกันมายาวนานมาก  ครั้งแล้วกาลเวลาก็ผ่านไปอีก แม่น้ำบางปะกงไหลกัดเซาะตลิ่งพังลงมาวัดหงส์จึงหมดไป  จึงมีการสร้างวัดขึ้นใหม่ 

วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้น แต่แรกมีชื่อว่า "วัดหงส์" เพราะมี "เสาหงส์" อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์อยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า "วัดเสาธง" ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "วัดเสาธงทอน" ส่วนชื่อ "วัดโสธร" อันมีความหมายว่า "บริสุทธิ์" และ "ศักดิ์สิทธิ์" นั้น เรียกตามพระนามของพระพุทธโสธรหรือหลวงพ่อโสธรซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้  
    ในภายหลังวัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า "วัดโสธรวรารามวรวิหาร" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2501
    ความจริงวัดโสธรแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีใดก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนเพียงแต่ทราบว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เท่านั้นเอง  แล้วก็สร้างในสมัยเดียวกับหลวงพ่อบ้านแหลมที่แม่กลองหรือสมุทรสงคราม ที่มีผู้คนบูชากราบไหว้ เพราะความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน

ประวัติพระอุโบสถหลางพ่อโสธร หลังใหม่
เนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าของวัดมีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ ซึ่งหลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก รวมกับพระพุทธรูปอื่นๆ 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ ทรงมีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม ซึ่งพระจริปุณโญ ด. เจียม กุลละวณิชย์ (หลวงพ่อเจียม) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ 

  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549  นับเป็นที่ปลื้มปิติของชาวฉะเชิงเทรา อย่างหาที่เปรียบมิได้ ทั้งนี้ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ เป็นเงินบริจาคจากประชาชนทั้งหมดไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่ประการใด


การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ เป็นงานที่มีความท้าทายเชิงวิศวกรรมอย่างยิ่ง เนื่องจากตำแหน่งที่ประดิษฐานขององค์พระนั้น เป็นตำแหน่งที่มีความเชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่ทำให้บ้านเมืองฉะเชิงเทราเจริญรุ่งเรือง จึงมีข้อจำกัดในการก่อสร้างที่ว่า การก่อสร้างนี้จะต้องไม่มีการ เคลื่อนองค์พระแม้แต่กระเบียดเดียว ทั้งทางราบ และทางดิ่ง (หมายถึงว่าจะยกขึ้นลงก็ไม่ได้) โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ โดยต้องสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กครอบฐานชุกชี ติดตั้งเครื่องระบายอากาศ มีเครื่องวัดความชื้น และติดตั้งเครื่องวัด และควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
  ในส่วนของศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดาน จะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาลโดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ เหนือมณฑปพระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเป็นภาพเขียน ประดับโมเสกสี จึงเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุด









ปัจจุบัน วัดโสธรวราราม วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 จัดเป็น พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สามารถเข้าสักการะองค์หลวงพ่อโสธรได้ทุกวัน เปิดให้นมัสการวันธรรมดาเวลา  07.00 – 16.15 น.  วันหยุดเวลา  08.00 – 16.30  น. 

ที่มา...http://www.sawasdee-padriew.com/History-WatSothon.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น