วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของวัดหลวงพ่อโสธร



ประวัติความเป็นมาของวัดหลวงพ่อโสธร
เมื่อนำพระพุทธรูปที่ลอยน้ำขึ้นมาได้ ชาวบ้านก็อัญเชิญเข้าไปประดิษฐานเอาไว้ในพระอุโบสถทันทีรวมกับพระพุทธรูป
องค์อื่นๆที่มีอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักปิดทองเอาไว้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลักษณะ ของพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง คือศิลปะของเวียงจันทร์ ซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้กันทั่วไปที่ล้านช้างและหลวงพระบางและเมืองอื่นๆที่ภูมิภาคแถบนี้ ดูได้จากพระพุทธรูปลักษณะเดียวกันที่เวียงจันทร์ และหลวงพระบางตลอดจนอินโดจีน รวมทั้งทางภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ชาวบ้านเลยพากันถือ เป็นเรื่องสำคัญมากที่ได้ พระพุทธรูปองค์สำคัญนี้มาพากันมากราบไหว้กันมากมาย
ในครั้งกระโน้นเล่าลือกันไปทุกสารทิศทีเดียวพากันเรียกท่านว่า"หลวงพ่อโสธรตามชื่อวัดที่เปลี่ยนมาจากเสาธงทอนแล้วก็เป็น หลวงพ่อโสธรมาตราบกระทั่ง ปัจจุบัน.
หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแปดริ้วหรือจังหวัดฉะเชิงเทราโดยแท้จริงตลอดมาหลวงพ่อพุทธโสธร
หรือหลวงพ่อโสธรหน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง1.48 เมตร เท่าที่มองเห็นองค์หลวงพ่อโสธรอยู่ในปัจจุบันนี้

   ผู้รู้เล่าว่าองค์จริงของหลวงพ่อพุทธโสธรนั้นเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่องค์เล็กกว่าที่เห็นกันอยู่ แต่เนื่องจาก
หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์งดงามมาก มีผู้เกรงว่าจะเป็นอันตรายอาจจะมีผู้ใจบาปมากระทำมิดีมิร้ายได้
จึงจัดการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขึ้นใหม่แล้วเอาองค์จริงของหลวงพ่อโสธรประดิษฐานไว้ข้างในไม่ให้ใครเห็นจนบัดนี้
 วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมมีชื่อว่า วัดหงส์ มีหลักฐานว่า สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีประวัติ ที่เล่าสืบทอดกันมายาวนานมาก  ครั้งแล้วกาลเวลาก็ผ่านไปอีก แม่น้ำบางปะกงไหลกัดเซาะตลิ่งพังลงมาวัดหงส์จึงหมดไป  จึงมีการสร้างวัดขึ้นใหม่ 

วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้น แต่แรกมีชื่อว่า "วัดหงส์" เพราะมี "เสาหงส์" อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์อยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า "วัดเสาธง" ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "วัดเสาธงทอน" ส่วนชื่อ "วัดโสธร" อันมีความหมายว่า "บริสุทธิ์" และ "ศักดิ์สิทธิ์" นั้น เรียกตามพระนามของพระพุทธโสธรหรือหลวงพ่อโสธรซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้  
    ในภายหลังวัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า "วัดโสธรวรารามวรวิหาร" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2501
    ความจริงวัดโสธรแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีใดก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนเพียงแต่ทราบว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เท่านั้นเอง  แล้วก็สร้างในสมัยเดียวกับหลวงพ่อบ้านแหลมที่แม่กลองหรือสมุทรสงคราม ที่มีผู้คนบูชากราบไหว้ เพราะความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกัน

ประวัติพระอุโบสถหลางพ่อโสธร หลังใหม่
เนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าของวัดมีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ ซึ่งหลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก รวมกับพระพุทธรูปอื่นๆ 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ ทรงมีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม ซึ่งพระจริปุณโญ ด. เจียม กุลละวณิชย์ (หลวงพ่อเจียม) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ 

  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549  นับเป็นที่ปลื้มปิติของชาวฉะเชิงเทรา อย่างหาที่เปรียบมิได้ ทั้งนี้ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ เป็นเงินบริจาคจากประชาชนทั้งหมดไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่ประการใด


การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ เป็นงานที่มีความท้าทายเชิงวิศวกรรมอย่างยิ่ง เนื่องจากตำแหน่งที่ประดิษฐานขององค์พระนั้น เป็นตำแหน่งที่มีความเชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่ทำให้บ้านเมืองฉะเชิงเทราเจริญรุ่งเรือง จึงมีข้อจำกัดในการก่อสร้างที่ว่า การก่อสร้างนี้จะต้องไม่มีการ เคลื่อนองค์พระแม้แต่กระเบียดเดียว ทั้งทางราบ และทางดิ่ง (หมายถึงว่าจะยกขึ้นลงก็ไม่ได้) โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ โดยต้องสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กครอบฐานชุกชี ติดตั้งเครื่องระบายอากาศ มีเครื่องวัดความชื้น และติดตั้งเครื่องวัด และควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
  ในส่วนของศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดาน จะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาลโดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ เหนือมณฑปพระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเป็นภาพเขียน ประดับโมเสกสี จึงเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุด









ปัจจุบัน วัดโสธรวราราม วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 จัดเป็น พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สามารถเข้าสักการะองค์หลวงพ่อโสธรได้ทุกวัน เปิดให้นมัสการวันธรรมดาเวลา  07.00 – 16.15 น.  วันหยุดเวลา  08.00 – 16.30  น. 

ที่มา...http://www.sawasdee-padriew.com/History-WatSothon.html

ประวัติและความเป็นมาของหลวงพ่อโสธร



ประวัติและความเป็นมาของหลวงพ่อโสธร
มีเรื่องราวที่เล่าขานกันมานานแล้วในครั้งโบราณว่าในกาลครั้งนั้นยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย มีพระพุทธรูปลอยน้ำมา3องค์ที่แม่น้ำบางปะกง พอมาถึงบริเวณสถานที่ แห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อว่าอะไรก็ไม่ประจักษ์ ก็มีชาวบ้านเห็นพระพุทธรูปลอยน้ำมาทั้งองค์เกิดเอะอะโวยวายขึ้นให้ช่วยกันอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง  ด้วยการเอาเรือออกไป อัญเชิญ ด้วยการช่วยกันยกขึ้นเรือแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะยกเอาขึ้นมาไม่ไหว จึงเปลี่ยนวิธีการเป็นเอาเชือกเส้นใหญ่ไปคล้ององค์พระทั้ง3องค์อย่างแน่นหนา แล้วให้ชาว บ้านที่มีอยู่ชักลากดึงจะเอาขึ้นมาบนฝั่งน้ำ ทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จเพราะแรงชาวบ้านที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมายนั้น
ไม่อาจจะฉุดดึงรั้งเอาองค์พระทั้ง3องค์ที่ลอยปริ่มๆน้ำอยู่ขึ้นมาได้ไม่สำเร็จ เพราะเชือกขาด รั้งเอาไว้ไม่อยู่ ประกอบกับ กระแสน้ำเกิดปาฏิหาริย์ปั่นป่วนขึ้นมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทำให้พระพุทธรูปทั้ง3องค์จมหายลับสายตาไปท่ามกลาง ความเสียดายของผู้คนที่มีอยู่ ซึ่งเห็นเหตุการณ์อย่างชัดเจน พากันยกมือไหว้ท่วมศีรษะ บางคนก็พูดว่าไม่มีบุญเพียงพอที่จะ อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง3องค์ขึ้นมาได
ผู้คนในสมัยนั้นโจษขานกันไปต่างๆนานาพากันคิดว่าอย่างนั้นคิดว่าอย่างนี้ไปจนบางทีก็เลยเถิดไปไหนต่อไหน บ้างก็ว่า เทวดาฟ้าดินไม่โปรด หลวงพ่อก็ไม่ยอมมาประดิษฐานอยู่บนฝั่งน้ำ หากอัญเชิญขึ้นมาได้แล้ว ก็จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดทันที เรื่องราวการโจษขานกันไปมากมายนี้เลยทำให้ชาวบ้านพากันเรียกสถานที่ ที่พระพุทธรูปทั้ง3 องค์ มาสำแดงปาฏิหาริย์ ลอยวนเวียนไปมาว่า สามพระทวนเรียกกันเรื่อยไปนานเข้าก็เพี้ยนกลายเป็น สัมปทวนกันไปในที่สุด

   จากนั้นต่อมาพระพุทธรูปทั้ง3องค์ที่ลอยน้ำมาในแม่น้ำบางปะกงก็ล่องลอยกันไปเรื่อยๆ องค์หนึ่งลอยไปทางบางพลี ไปผุดขึ้นที่ลำคลองวัดบางพลี ชาวบ้านอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานเอาไว้ที่วัดบางพลีได้โดยง่าย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปองค์นี้ท่านต้องการจะประดิษฐานอยู่ ณ ที่ตรงนี้ก็ได้ 

   อีกองค์หนึ่งลอยออกไปที่บริเวณบ้านแหลมสมุทรสงคราม ชาวบ้านตีอวนได้องค์พระขึ้นมาแล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ที่วัดบ้านแหลม หรือในปัจจุบันคือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร 
 
   อีกองค์หนึ่งผุดขึ้นมาที่หน้าวัดเสาธงทอนหรือ วัดโสธรที่แม่น้ำบางปะกงชาวบ้านช่วยกันฉุดลากขึ้นมาด้วยเชือก อีกเช่นเดียวกันแต่ก็ไม่สำเร็จไม่อาจจะอัญเชิญขึ้นมาบนบกได้ มีผู้เสนอให้ไปเชิญอาจารย์ผู้ที่มีความรู้ ทางด้านเวทมนต์คาถามา เพื่อทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาจากกระแสน้ำให้ได้ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จ เมื่ออาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณท่านนั้นตั้งศาล เพียงตาขึ้นมาตามโบราณพิธีแล้วเอาสายสิญจน์ไปคล้องเอาไว้ที่พระหัตถ์ ตอนนี้เองปรากฏว่าอัญเชิญเอาขึ้นมาบนฝั่งน้ำ ริมตลิ่งของวัดเสาธงทอนได้อย่างง่ายดายมาก แต่เมื่อเอาเชือกเส้นใหญ่ไปคล้องผูกมัดองค์ท่านแล้วดึงเข้ามาไม่เป็นผลอะไรเลย นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดของผู้ที่พบเห็นเป็นอันมาก
เมื่อนำพระพุทธรูปที่ลอยน้ำขึ้นมาได้ ชาวบ้านก็อัญเชิญเข้าไปประดิษฐานเอาไว้ในพระอุโบสถทันทีรวมกับพระพุทธรูป
องค์อื่นๆที่มีอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักปิดทองเอาไว้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลักษณะ ของพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง คือศิลปะของเวียงจันทร์ ซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้กันทั่วไปที่ล้านช้าง
และหลวงพระบางและเมืองอื่นๆที่ภูมิภาคแถบนี้ ดูได้จากพระพุทธรูปลักษณะเดียวกันที่เวียงจันทร์ และหลวงพระบางตลอดจนอินโดจีน รวมทั้งทางภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ชาวบ้านเลยพากันถือ เป็นเรื่องสำคัญมากที่ได้ พระพุทธรูปองค์สำคัญนี้มาพากันมากราบไหว้กันมากมาย

   ในครั้งกระโน้นเล่าลือกันไปทุกสารทิศทีเดียวพากันเรียกท่านว่า"หลวงพ่อโสธรตามชื่อวัดที่เปลี่ยนมาจากเสาธงทอนแล้วก็เป็น หลวงพ่อโสธรมาตราบกระทั่ง ปัจจุบัน.

หลวงพ่อโสธร
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแปดริ้วหรือจังหวัดฉะเชิงเทราโดยแท้จริงตลอดมาหลวงพ่อพุทธโสธร
หรือหลวงพ่อโสธรหน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง1.48 เมตร เท่าที่มองเห็นองค์หลวงพ่อโสธรอยู่ในปัจจุบันนี้

   ผู้รู้เล่าว่าองค์จริงของหลวงพ่อพุทธโสธรนั้นเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่องค์เล็กกว่าที่เห็นกันอยู่ แต่เนื่องจาก
หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์งดงามมาก มีผู้เกรงว่าจะเป็นอันตรายอาจจะมีผู้ใจบาปมากระทำมิดีมิร้ายได้
จึงจัดการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขึ้นใหม่แล้วเอาองค์จริงของหลวงพ่อโสธรประดิษฐานไว้ข้างในไม่ให้ใครเห็นจนบัดนี้
ที่มา…http://www.sawasdee-padriew.com/History-Sothon%20Budda.html

คำขวัญ และความเป็นมาของจังหวัดฉะเชิงเทรา



จังหวัดฉะเชิงเทรา



คำขวัญ ประจำจังหวัด
แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤาไนป่าสมบูรณ์


ประวัติความเป็นมา


ประวัติความเป็นมาของจังหวัดแต่ละยุคสมัย
จังหวัดฉะเชิงเทราหรือที่นิยมเรียกกันว่า "แปดริ้ว" เคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของอาณาจักรลพบุรี (ขอม) เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่า คลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็นแต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า "สตึงเตรง หรือ ฉทรึงเทรา" ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น "ฉะเชิงเทรา" แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนมาจาก "แสงเชรา" หรือ "แซงเซา" หรือ "แสงเซา" อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จไปตีได้ตามที่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้ มากกว่า

ส่วนความเป็นมาของชื่อ "แปดริ้ว" ก็มีเล่าขานกันมาหลายกระแส บ้างก็ว่าที่ได้ชื่อว่าเมืองแปดริ้ว ก็เพราะขนาดอันใหญ่โตของปลาช่อนที่ชุกชุมเมื่อนำมาแล่ จะต้องแล่ถึงแปดริ้ว หรือไม่ก็ว่ามาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง "พระรถเมรี" เล่าว่ายักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพออกเป็นชิ้น ๆ รวมแปดริ้ว ทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาดสำหรับข้อสันนิษฐานการตั้งเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวา  ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) แต่สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏชัดเจนในสมัยพระนเรศวรมหาราชที่ใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล  เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๖ ด้วยชัยภูมิของเมืองที่เหมาะแก่การทำสงครามกองโจร ทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ป้องกันศัตรู ปกป้องเมืองหลวง จวบจนสู่การปกครองระบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.๒๔๗๕ และในปี พ.ศ.๒๔๗๖ มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาค คำว่าเมืองเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ครองเมือง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย ฉะเชิงเทราได้รับเลือกเป็นสถานที่ภาคมีเขตความรับผิดชอบ ๘ จังหวัด  ซึ่งนับเป็นบทบาทที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา
"ฉะเชิงเทรา" กับ "แปดริ้ว"

"ฉะเชิงเทรา" กับ "แปดริ้ว" คือสองชื่อที่เรียกขานเมืองนี้ "ฉะเชิงเทรา" เป็นชื่อที่ใช้ในทางราชการ ส่วน "แปดริ้ว" เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้เรียกกันมาช้านาน ซึ่งทั้งสองชื่อต่างก็มีเรื่องเล่าขานถึงความเป็นมาอย่างหลากหลายและมีสีสัน
ชื่อ "ฉะเชิงเทรา" มีต้นเค้านึ่งมาจากหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ภาคปกิณกะ ภาค 1 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความพาดพิงถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า "...ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร แปดริ้วเป็นชื่อไทย..." นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านจึงมีความเห็นว่า "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า "สตึงเตรง" หรือ "ฉ่ทรึงเทรา" ซึ่งแปลว่า "คลองลึก" ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อครั้งที่ขอมยังมีอำนาจปกครองแผ่นดินไทยอยู่นั้น เมืองนี้เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองขิงขอมมาก่อน เป็นไปได้ว่าชาวเมืองในสมัยโบราณอาจจะเรียกแม่น้ำบางปะกงว่า "คลองลึก" หรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น และด้วยอิทธิพลเขมรจึงไดเรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า "สตรึงเตรง" หรือ "ฉ่ทรึงเทรา" ครั้งเรียกกันไปนานๆ เสียงก็เพี้ยนกลายเป็น "ฉะเชิงเทรา" เมืองที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำก็พลอยได้ชื่อว่า "ฉะเชิงเทรา" ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากมักมีความเห็นต่างอกไปว่า ชื่อ "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนจาก "แสงเชรา" หรือ "แซงเซา" หรือ "แสงเซา" อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปตีได้ ตามที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้มากกว่า เพราะการออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ยิ่งเมื่อประกอบความคิดที่ว่า เมืองตั้งขึ้นในตอนต้นกรุงศรีอยุธยา อันเป็นเวลาที่ชื่อเสียงเรียงนามต่างๆ น่าจะเป็นคำไทยหมดแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างนนทบุรี นครไชยศรีและสาครบุรี ซึ่งล้วนแต่มีเชื้อสายไทยอิทธิพลอินเดีย ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าเมืองนี้ไม่ใช่คำเขมร หากแต่เป็นคำไทยที่เพี้ยนมาขากชื่อเมืองในพงศาวดารนี่เอง


ส่วนความเป็นมาของชื่อ "แปดริ้ว" ก็มีตำนานเล่าขานกันมาหลายกระแสไม่แพ้กัน บ้างก็ว่าเมืองนี้แต่ไหนแต่ไรมาเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในลำน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วนสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อนซึ่งเป็นปลาน้ำจืดรสดีนั้นมีชุกชุมและขนาดใหญ่กว่าในท้องถิ่นอื่นๆ จนเมื่อนำมาแล่เนื้อทำปลาตากแห้ง จะแล่เพียงสี่ริ้วหรือห้าริ้วตามปกติไม่ได้ ต้องแล่ออกถึง "แปดริ้ว" เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า "แปดริ้ว" ตามขนาดใหญ่โตของปลาช่อนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมือง
นอกจากเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และมีอิทธิพลต่อความคิดของชาวบ้านอย่างมากแล้ว นิทานพื้นบ้านซึ่งมีเนื้อเรื่องค่อนข้างผาดโผนก็มีส่วนสร้างความเชื่อถือในเรื่องชื่อเมืองได้เหมือนกัน คนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าถึงเรื่อง "พระรถ-เมรี" ซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกว่า ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสองแล้วลากศพไปยังท่าน้ำ ในบริเวณที่เป็นคลอง"ท่าลาด" แล้วชำแหละศพออกเป็นริ้วๆ รวมแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อริ้วหนังของนางสิบสองลอยมาออกยังแม่น้ำบางปะกง ไปจนถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า "แปดริ้ว"

พื้นที่และแผ่นดิน
ฉะเชิงเทรามีเนื้อที่กว่า 5,000 ตารางกิโลเมตรหรือกว่า 3 ล้านไร่ กว้างใหญ่กว่าเมืองอื่นใดในแผ่นดินภาคตะวันออกของไทยนอกจากจันทบุรี อาณาเขตของจังหวัดแผ่ไปจนจรดนครนายกและปราจีนยุรีทางทิศเหนือ ชลบุรีและจันทบุรีทางทิศใต้ ปราจีนบุรีทางทิศตะวันออก และกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานีทางทิศตะวันตก
พื้นที่ทั่วไปของฉะเชิงเทราเป็นที่ราบลุ่ม เว้นแต่เพียงบางส่วนที่เป็นที่ราบลูกฟูก ที่ดอนและภูเขาเตี้ยๆ พื้นที่ราบนั้นสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนบริเวณเทือกเขาปกคลุมด้วยป่าไม้อันอุดมไปด้วยไม้มีค่าและ
สัตว์ป่าหายาก ทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แม่น้ำบางปะกง เส้นเลือดใหญ่ของฉะเชิงเทราก็ถือกำเนิดจากเทือกเขาเหล่านี้ แล้วไหลลงสู่เบื้องล่างเพื่อหล่อเลี้ยงให้ความสมบูรณ์กับผืนดินก่อนลงสู่ทะเลที่อ่าวไทย
สายน้ำบางปะกงอันคดเคี้ยวแบ่งพื้นดินออกเป็นสองส่วน ฟากหนึ่งคือความเป็นเมืองอันทันสมัย อาคาร บ้านเรือนและโรงงานกำลังผุดขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ส่วนอีกฟากหนึ่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าและพื้นที่เกษตรอันดารดาษด้วยนากุ้ง สวนผลไม้และนาข้าวออกรวงสีทองอร่าม ตลอดสองฝั่งน้ำ ป่าจากอันเป็นพืชดั้งเดิมคู่ลำน้ำบางปะกงยังคงหนาทึบ ใบสีเขียวเข้มเอนลู่ไหวไปมาเสียดสีกันยามต้องสายลม
ฉะเชิงเทราเป็นเมืองใกล้ทะเล มีส่วนที่ติดกับชายฝั่งยาวถึง 12 กิโลเมตรที่อำเภอบางปะกง ตลอดแนวชายฝั่งคือป่าชายเลนที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ พื้นที่ติดทะเลทำให้เมืองนี้ได้รับอิทธิพลจากลมบกและลมทะเลอย่างเต็มที่ และด้วยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ ฉะเชิงเทราจึงชุ่มชื้นด้วยฝนที่ตกต้องตามฤดูกาล อันนำพาพืชพรรณธัญญาหารให้ผลิดอกออกผลสะพรั่งตลอดปี

ฉะชิงเทราในอดีต
เมืองฉะเชิงเทราถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด ไม่มีผู้ยืนยันได้แน่ชัด แต่จากที่ตั้งของเมือง นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงแห่งนี้ เมื่อหลายพันปีก่อน น่าจะเป็นแหล่งอารยะธรรมสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับที่ราบลุ่มแม่น้ำอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งพักพิงอาศัยของผู้คนมาแต่โบราณ และเมื่อมีการขุดค้นพบโครงกระดูกและเครื่องประดับมีค่าอายุกว่า 5,000 ปี ณ แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในเขตการปกครองของเมืองฉะเชิงเทรามาก่อน จึงเกิดเป็นหลักฐานว่า ผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ในครั้งนั้น น่าจะเป็นมนุษย์โบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งหลายก็น่าจะตั้งรกรากอยู่ใกล้เคียงกันตามชายฝั่งทะเลแถบนี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่า เจ้าของอารยะธรรมที่โคกพนมดีอาจจะเป็นบรรพชนของผู้สร้างอารยะธรรมยุคสำริดอันเลื่องชื่อที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีก็ได้

เมื่อล่วงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ แหล่งอารยะธรรมลุ่มแม่น้ำบางปะกงดูจะมีหลัดฐานชัดเจนขึ้น แต่บ้านเมืองในยุคต้นพุทธกาลนี้ก็ยังมิได้รวมเป็นลักษณะ "อาณาจักร" ที่มีราชธานี ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นศูนย์กลางการกครอง คงเป็นเพียงการรวมกลุ่มขึ้นเป็น "แคว้น" หรือ "นครรัฐ" เล็กๆ กระนั้น บทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว หากพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์ ชุมชนศูนย์กลางของอารยะธรรมกลุ่มแม่น้ำบางปะกงนั้น น่าจะเป็นทางออกสู่ทะเลซึ่งสามารถติดต่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมกับดินแดนโพ้นทะเล และในขณะเดียวกัน ก็สามารถนำพาสินค้าและวัฒนธรรมเหล่านั้นไปยังดินแดนภายในแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและที่ราบต่ำในกัมพูชา อันถือได้ว่าเป็นบ่อเกิดแห่งอารยะธรรมสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างสะดวก หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบได้ในบริเวณนั้น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมหรือประติมากรรม ล้วนแสดงว่าชุมชนแห่งนี้มีอายุต่อเนื่องยืนยาวหลายพันปี และมีมนุษย์อาศัยสืบเนื่องมาไม่ขาดสายตั้งแต่ยุคบรรพกาล

อย่างไรก็ตาม ชื่อ "ฉะเชิงเทรา" ได้มาปรากฏอย่างเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ. 1991-2031) ฉะเชิงเทราได้รับบทบาทสำคัญในการปกครอง ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวาที่อยู่ใกล้ราชธานีของประเทศ เช่นเดียวกับราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม นครไชยศรี นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี สมุทรสาคร ชลบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก
ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา บทบาทของ "เมือง" แห่งนี้ในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์สุขของพี่น้องชาวไทยเริ่มเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมครั้งแรก ด้วยเหตุที่ฉะเชิงเทราตั้งอยู่ใกล้ชายแดนเขมร แต่ไหนแต่ไรมา เขมรมักถือโอกาสซ้ำเติมไทยโดยยกทัพมากวาดต้อนผู้คนอยู่เนืองๆ ในเวลาที่ไทยเพลี่ยงพล้ำในการศึกกับพม่า ในปี พ.ศ. 2126 สมเด็จพระนเรศวนมหาราชจึงได้ทรงเกณฑ์ผู้คนนับหมื่น เสด็จกรีธาทัพไปตีเมืองละแวกเพื่อแก้แค้นเขมร การศึกครั้งนั้นเป็นครั้งใหญ่ที่มีการวางแผนรบอย่างรอบครอบ และฉะเชิงเทราได้กลายเป็นขุมกำลังและแหล่งเสบียงสำคัญที่มีหน้าที่แจกจ่ายเสบียงให้แก่กองทัพหลวง
ไม่ถึงสองร้อยปีให้หลัง ฉะเชิงเทราที่มีบทบาททางการเมืองอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายแก่พม่า พระยากำแพงเพชรผู้ซึ่งในภายหลังได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ชุมนุมพลพันเศษ เดินทัพจากกรุงศรีอยุธยาที่ล่มแล้ว หมายจะไปซ่องสุมกำลังที่เมืองจันทบุรีเพื่อกอบกู้ชาติไทย ทัพไทยถูกทหารพม่าติดตามมาดักที่บริเวณปากน้ำเจ้าโล้ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองฉะเชิงเทราในขณะนั้นจึงเกิดปะทะกันขึ้นแต่ด้วยชัยภูมิของเมืองอันเหมาะแก่การทำสงครามกองโจรพระยากำแพงเพชรจึงสามารถตีทัพพม่าแตกพ่ายไปและเดินทางต่อไปได้จนถึงที่หมาย และภายหลังจากที่ฝึกปรือทหารจนมีกำลังกล้าแข็งแล้วก็ได้นำกำลังโดยใช้ฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางหนึ่งในการเดินทัพเข้าโจมตีพม่าที่เมืองธนบุรี แล้วขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นค่ายใหญ่ของพม่าที่อยุธยา ทำการกอบกู้เอกราชให้กับชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ

โฉมหน้าใหม่ของเมืองนี้เริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ โดนเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นเวลาที่ฉะเชิงเทราได้รับบทบาทในฐานะ "เมืองหน้าด่าน" ที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญวนเกิดฮึกเหิม หมายจะแย่งชิงอำนาจในการปกครองเขมรและสถาปนากษัตริย์เขมรจากไทย จนเกิดเหตุลุกลามกลายเป็นสงคราม "อานามสยามยุทธ" ระหว่างไทยกับญวนดำเนินไปได้ราว 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการเมืองฉะเชิงเทราจากเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่ปากน้ำเจ้าโล้ มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ที่บ้านท่าไข่ แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ชิดกับลำน้ำบางปะกง ซึ่งเป็นเสมือนกำแพงธรรมชาติที่ป้องกันศัตรูได้อย่างดี หมายให้ช่วยรักษาเมืองหลวงให้พ้นภัยจากข้าศึก กำแพงนี้นอกจากจะเป็นปราการในการปกป้องเมืองหลวงแล้ว ยังกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐแห่งใหม่และเป็นเครื่องแสดงอาณาเขตของเมืองด้วย ต่อมาเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ภายในกำแพง ความเป็น "เมือง" ที่มีอาณาเขตแน่นอนของฉะเชิงเทราจึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

"สมัยใหม่" ของฉะเชิงเทราเริ่มต้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งราชวงศ์จักรี เมื่อไทยได้เปิดรับอารยะธรรมตะวันตกและเริ่มผันชีวิตความเป็นอยู่รับสถานการณ์โลก มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนานัปการเพื่อให้นานาชาติเห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีอารยะธรรมประเทศหนึ่ง เมื่อลุถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยิ่งกว้างขวาง กิจการภายในของไทยถูกคุกคามและแทรกแซง เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ไทยพบกับภัยทางการเมืองในรูปแบบใหม่ที่รุนแรง
ด้วยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้หันมาใช้นโยบาย "การเมือง" นำหน้า "การทหาร" และในขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน นำการปกครองระบบ "เทศาภิบาล" มาใช้โดยรวบรวมเมืองต่างๆ ขึ้นเป็น "มณฑล" โดยยึดเอาลำน้ำเป็นหลัก ฉะเชิงเทราก็ได้ร่วมมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าครั้งยิ่งใหญ่นี้ด้วย โดยให้รวมเข้าเป็นหนึ่งในมณฑลปราจีนในปี พ.ศ. 2435 ร่วมกับเมืองปราจีนบุรี นครนายก พนมสารคาม มีลำน้ำบางปะกงเป็นลำน้ำสายหลักและมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบระเบียบเป็นครั้งแรก และเมื่อมีการขยายอาณาเขตโดยรวมเอาเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุงเพิ่มเข้าไปด้วย ฉะเชิงเทราจึงกลายเป็นที่ว่าการมณฑลแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา "มณฑลปราจีน" ในครั้งนั้นคือสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติในยุคของการล่าอาณานิคมอย่างแท้จริง ฉะเชิงเทราซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑล ก็ได้กลายเป็นต้นฉบับของการปกครองที่ก้าวหน้าและมั่นคง ให้มณฑลอื่นๆ ได้ถือเป็นแบบอย่าง
จวบจนย่างเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 เมื่อการปกครองระบบ "เทศาภิบาล" ยุติลงและเริ่มมีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วย "ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476"  อำนาจปกครองจึงเริ่มกระจายสู่ส่วนภูมิภาค คำว่า "เมือง" ได้เปลี่ยนเป็น "จังหวัด" มี "ผู้ว่าราชการจังหวัด" เป็นผู้ดูแลกิจการของเมือง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศ และในปี พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย ฉะเชิงเทราก็ได้รับเลือกเป็นสถานที่ตั้งภาค มีเขตความรับผิดชอบ 8 จังหวัด นับเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของเมือง-->
 

ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อทั่วไป  -  นนทรีป่า 
ชื่อสามัญ -  Moulmein Lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์  -  Peltophorum dasyrachis (Miq) Kurz
วงศ์  -  LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่นๆ -  คางฮู่ง, คางรุ้ง, ราง, ช้าขม, นนทรี,อะราง,ร้าง,อะล้าง, ช้าชม ,กว่าเซก, คางฮ่ง , จ๊าขาม 
ถิ่นกำเนิด -  ป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี
ประเภท -  ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
- ต้น
  เป็นไม้ยืนต้นสูง 15-30 เมตร กิ่งผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทา ลำต้นเปลาตรง ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง โตเร็ว ชอบแดดจัด
-
  ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ปลายคู่ เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง ก้านใบย่อย 10 - 22 คู่ ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อย 6 - 16 คู่ รูปขอบขนานกว้าง 0.5 - 1 เซนติเมตร ยาว 1 - 2.5 เซนติเมตร ปลายใบมนและเว้าเล็กน้อย โคนใบมนและเบี้ยว
-
  ดอก ดอกช่อออกที่ซอกใบปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลงยาว 15 -20 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 1.5 ซม. เกสรตัวผู้ 10 กัน ออกดอกเดือนมกราคม - มีนาคม
-
  ผล เป็นฝักแบน กว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาว 10- 15 เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม สีน้ำตาลแดง เมื่อแก่เป็นสีดำ
-
  เมล็ด  มี 4 -8 เมล็ด เรียงตามขวางของฝัก
การขยายพันธุ์ -  ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด 
สภาพที่เหมาะสม -  เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง  พบมากตามป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออก เป็นพืชโตเร็ว ชอบแดดจัด ปลูกริมทะเลได้
ประโยชน์ -  ปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เรื่องเรือน  เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลม ปลูกเป็นไม้ประดับ

ที่มา...http://www.thaigoodview.com/node/12258